1.5 ประโยชน์ Raspberry Pi ในด้านการจัดการเรียนการสอน

นำ Raspberry Pi ไปใช้ ในด้านการจัดการเรียนการสอนอย่างไร ?

นอกจากความสามารถด้านการเขียนโปรแกรมภาษา Python,โปรแกรม Scratch แล้ว สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานในรูปแบบของโครงงานต่าง ๆ ได้เหมือน บอร์ดไมโครคอนโทรเลอร์ทั่วไป โดยสามารถสร้างสิ่งประดิษฐ์ให้อุปกรณ์เดิมและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น ระบบเปิด/ปิดไฟอัตโนมัติ, อุปกรณ์วัดความเอียง, ระบบตรวจสอบอุณหภูมิห้องแบบเรียลไทม์ รถยนต์บังคับสำหรับงานด้านต่าง ๆ , กังหันลม, เครื่องชงชา, ระบบควบคุมไฟจราจร, ระบบวัดระยะทาง, ระบบแจ้งเตือนต่าง ๆ , ระบบวัดความเข้มแสง, เครื่องนับแต้ม, ระบบจัดเก็บข้อมูลจากตัวตรวจจับต่าง ๆ ลงฐานข้อมูล MySQL เป็นต้น แต่จำเป็นต้องมีการซื้อตัวตรวจจับ (Sensor) เพิ่มเติมเหมือนกับการใช้งานด้วย Arduino Platform

ตัวอย่างการเชื่อมต่อระหว่าง Raspberry Pi กับ ตัวตรวจจับ (Sensor)

ที่มา : มาโนชญ์  แสงศิริ

       ทำความเข้าใจ

Raspberry Pi นั้นไม่มีความสามารถในการรับค่าแบบ Analog โดยตรง (รับได้เฉพาะ Digital In/Out)  ซึ่งไม่เหมือนกับ Arduino Board ซึ่งรับค่าได้ทั้งแบบ Digital และ Analog ดังนั้นจึงมีคนใช้วิธีการนำข้อมูลแบบ Analog เข้าไปประมวลผลต่อใน Raspberry Pi หลากหลายวิธี เช่น

       – การใช้ Analog to Digital Converter และ ส่งข้อมูลผ่านเข้าไปใน Raspberry Pi โดยใช้ Protocol SPI หรือ I2C ในท้องตลาดจะเรียกว่า ADC

       – การใช้ Arduino Board และติดต่อผ่าน Serial Communication (USB Port)

       – การใช้ Arduino Board และต่อต่อผ่าน RX/TX ของ Raspberry Pi  (วิธีนี้จะประหยัดการใช้งาน USB Port)

แหล่งที่มา Scimath