เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Data subject) มีสิทธิกับข้อมูลของตนเอง ตามมาตรา 30- 35 ใน พรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ดังนี้
1.สิทธิได้รับการแจ้งให้ทราบ (Right to be informed) – ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลจะต้องแจ้งให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบก่อนหรือในขณะที่เก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล พร้อมระบุรายละเอียดการขอข้อมูล เช่น เก็บข้อมูลอะไร วัตถุประสงค์ การนำไปใช้ ระยะเวลาในการเก็บ เป็นต้น
2.สิทธิขอเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล (Right of access) – เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิขอเข้าถึงและขอรับสำเนาข้อมูลส่วนบุคคล ที่เกี่ยวกับตนซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล หรือขอให้เปิดเผยถึงการได้มา ซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวที่ตนไม่ได้ให้ความยินยอม
3.สิทธิในการขอให้โอนข้อมูลส่วนบุคคล (Right to data portability) – เป็นสิทธิที่เจ้าของข้อมูลสามารถนำเอาข้อมูลที่ให้ไว้กับผู้ควบคุมข้อมูลรายหนึ่ง ไปใช้กับผู้ควบคุมข้อมูลอีกรายหนึ่งได้
4.สิทธิคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล (Right to object) – เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูล ส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตนเมื่อใดก็ได้
5.สิทธิขอให้ระงับการใช้ข้อมูล – เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลระงับการใช้ ข้อมูลส่วนบุคคลได้
6.สิทธิในการขอให้แก้ไขข้อมูลส่วนบุคคล – ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลต้องดำเนินการให้ข้อมูลส่วนบุคคลนั้นถูกต้อง เป็นปัจจุบัน สมบูรณ์ และไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด
แหล่งข้อมูล สิทธิของเจ้าของข้อมูล (Data Subject) ตาม PDPA มีอะไรบ้าง และผู้ประกอบการควรเตรียมพร้อมอย่างไร , ตัวอย่างสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
รูปภาพจาก สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล