1. ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัว ครอบครัว หรือคนรู้จักแก่ผู้อื่น
2. ไม่เปิดอ่านอีเมลหรือข้อความจากคนไม่รู้จัก
3. เมื่อพบข้อความข่มขู่ คุกคาม หรือการให้โอนเงิน ให้รีบแจ้งผู้ใหญ่ทันที
4. แจ้งครูหรือผู้ปกครอง หากนักเรียนประสบปัญหาที่ไม่สามารถจัดการหรือแก้ไขได้เองให้แจ้งครูหรือผู้ปกครองเพื่อดำเนินการแก้ไขหรือติดต่อประสานงานกับผู้เกี่ยวข้องเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำเดิมไม่สิ้นสุด
5. แจ้งเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องที่ดูแลเว็บไซต์นั้น กรณีที่ใช้งานข้อมูลจากผู้ให้บริการระบบรายใหญ่ เช่น Facebook YouTube ซึ่งเว็บไซต์เหล่านี้เปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถรายงานปัญหาเกี่ยวกับเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมได้ เช่น เนื้อหาที่มีการคุกคามทางเพศ เนื้อหาเกี่ยวกับความรุนแรง ส่งเสริมการก่อการร้าย การละเมิดลิขสิทธิ์ หลังจากผู้ให้บริการได้รับแจ้ง จะมีการตรวจสอบเนื้อหาดังกล่าวอย่างถี่ถ้วน และดำเนินการกับผู้กระทำผิด เช่น ลบเนื้อหา ตัดสิทธิ์(block) หรือจำกัดสิทธิ์การใช้งาน
6. แจ้งเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือตำรวจ หากผู้ดูแลระบบไม่จัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้น ให้ประสานงานกับหน่วยงานรัฐที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง เช่น แจ้งกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ที่เว็บไซต์ http://www.mdes.go.th เพื่อดำเนินการตามกฏหมาย
7. ไม่โอนเงินให้ผู้อื่น โดยเฉพาะเมื่อมีการนำผลตอบแทนมาจูงใจติดตั้งโปรแกรมบล็อกเว็บไซต์แปลกปลอมและตั้งค่าความปลอดภัย
8. ปฏิเสธการรับข้อมูล สามารถทำได้โดยไม่เปิดดู ไม่บันทึกเก็บไว้ และไม่กดไลค์ เพราะการกระทำเหล่านี้เป็นแนวทางที่ป้องกันไม่ให้ข้อมูลดังกล่าวเผลแพร่ไปสู่ผู้อื่น
9. ไม่ส่งต่อ ไม่แชร์ ไม่เผยแพร่ เพราะนอกจากจะทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนกับข้อมูลที่ไม่เป็นความจริงแล้ว ในบางกรณีอาจเข้าข่ายผิดกฏหมายตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีโทษทั้งจำและปรับ
แหล่งข้อมูล แนวทางปฏิบัติเมื่อพบเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม , การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย
รูปภาพจาก canva.com